History Of Watchs การเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี นาฬิกา
ผู้เขียน :NGG Content ครีเอเตอร์
“นาฬิกา” สิ่งประดิษฐ์ที่ใครหลาย ๆ ท่าน คุ้นเคยและรู้จักกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะหันไปทิศทางใด ก็จะพบเจอแต่เครื่องบอกเวลาชนิดนี้ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ สามารถช่วยตอบโจทย์ให้กับคุณได้เป็นอย่างดีและช่วยทำให้การดำเนินชีวิตของคุณเป็นไปตามแบบแผนของเวลา เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ได้อย่างแม่นยำ
ประวัติของนาฬิกาข้อมือ
หากย้อนกลับไปเมื่อ 537 ปีก่อน ในการเกิด ประวัติ นาฬิกา และ วิวัฒนาการ ของ นาฬิกา ข้อมือ ในปีศตวรรษที่ 15 (ปี ค.ศ.1485-1542) ปีเตอร์ เฮนเลน นักประดิษฐ์นาฬิกา หนึ่งในช่างฝีมือชาวเยอรมันคนแรกที่ผลิต นาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลก แบบ "clock-watches" นาฬิกาประดับสวมใส่ในรูปแบบจี้ ซึ่งเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่ถูกสวมใส่บนร่างกาย โดยผูกติดกับเสื้อผ้าหรือใช้คล้องโซ่ห้อยคอ ก่อนหน้านี้มีเพียงแค่เข็มชั่งโมงเท่านั้น หน้าปัดไม่มีกระจกปิด แต่มีฝาทองเหลืองพับเปิดปิดได้ หลัง ๆ จึงมีการดีไซน์ ปรับเปลี่ยนผลิตเป็นรูปร่างต่าง ๆ อาทิ ดาว ดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งนาฬิกา "clock-watches" นี้ เน้นเพียงการดีไซน์รูปร่างเท่านั้น จะไม่เน้นความแม่นยำในเรื่องของเวลา
หลังจากนั้น เมื่อต้นศตวรรษที่ 16 นาฬิกาข้อมือ ก็ได้กลับมานิยมใหม่อีกครั้ง ในสมัยพระนางเจ้า-อลิซเบ็ธที่ 1 หลังจากได้รับของขวัญ เป็นนาฬิกาข้อมือจากเจ้าชายโรเบิร์ต ในปี 1571 นาฬิกาข้อมือ
จึงกลายเป็นที่นิยมของเหล่าหญิงสาวเป็นอย่างมากในยุคนั้น
ภายหลังประมาณปลายศตวรรษที่ 19 บริษัท Mappin & Webb ได้เริ่มมีการผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลก สำหรับใช้ทางทหาร และ เริ่มมีการผลิต นาฬิกาแบบพกพา แบบสายหนังเพิ่มเข้ามา โดยมีบริษัท Swiss ที่ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบนาฬิกาข้อมือในปี 1903
ต่อมาในปี 1905 วิลส์ดอร์ฟ และเดวิส ได้ทำการร่วมหุ้นธุรกิจผลิตนาฬิกาคุณภาพในราคาที่สามารถซื้อกันได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้ชื่อบริษัท “Rolex“
นอกจากนี้ยังมีระบบกลไกต่าง ๆ เริ่มต้นด้วย นาฬิกากลไกจักรกล (Mechanical Watch) ที่ได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปี ทำงานแบบอาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่าง ๆ ภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลานสปริงทำให้นาฬิกาเดินหน้าได้ คาาดว่ามีการคิดประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.นาฬิกาไขลาน หรือไขลานด้วยมือ (Manual Winding Watch)
เป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาตั้งแต่แรกเริ่มโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริงลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนฟันเฟืองต่าง ๆ ของกลไกและทำให้นาฬิกาทำงานได้
2.นาฬิกาออโตเมติก Automatic Winding Watch (Self-winding watch)
นาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ สามารถไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกานาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอดโดยระบบมหัศจรรย์นี้ถูกคิดค้นโดย “อับราฮัมหลุยส์ แพรีเลด์“ (Abraham Louisperrelet) โดยตัวโรเตอร์ดังกล่าวนั้น จะเคลื่อนที่โดยน้ำหนักของตัวเอง หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่งแรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการขึ้นลานตลอดนาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา
หากคุณไม่ได้ทำการสวมใส่ าฬิกาข้อมือ ลานก็จะไม่สามารถเดินได้ ซึ่งนาฬิกากลุ่มนี้ จะมีน้ำหนักตัวเรือนที่เบาสามารถได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและหมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบา ๆ นับเป็นการเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่มากขึ้นกันสุดๆและต่อมาในศตวรรษที่ 18 (ปี 1770) บริเกต์ (Breguet) เรียกระบบไขลานด้วยตัวเองนี้ว่า“เพอร์เพ็ทช่วล” (perpetuelle) หรือที่เราคุ้นกันในรูปศัพท์ perpetual ในปัจจุบัน
ต่อมา ในปี ค.ศ.1929 “Warren Morrison“ ได้ริเริ่มประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือแบบ ควอตซ์ (Quartz watches) หรือ นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ นาฬิกาประเภทนี้ เป็นระบบที่แม่นยำ และเที่ยงตรง
ใช้การขับเคลื่อนด้วย แบตเตอรี่ หรือ ถ่านเพื่อช่วยในการทำงาน และ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลา หรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมา ให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง
ต่อมาในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่ ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับระบบกลไก การผลิตนาฬิกาข้อมือ มีการประดิษฐ์นาฬิกาโดยใช้ชิป (Chip) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และ ยังสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาจึงได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
จนมาถึงปี1980 ระบบได้ทำการพัฒนา มาพร้อมกับแป้นพิมพ์ภายนอกสำหรับป้อนข้อมูล ข้อมูลถูกซิงค์จากแป้นพิมพ์ไปยังนาฬิกาผ่านการเชื่อมต่อแม่เหล็กไฟฟ้า (การเชื่อมต่อแบบไร้สาย)
วิวัฒนาการ ของ นาฬิกา
หลังจากนั้น ในปี 1998 “ สตีฟแมนน์ “ได้คิดค้นออกแบบและสร้างนาฬิกาข้อมือลินุกซ์เรือนแรกของโลก และเป็นผู้ที่ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ไปได้ทุกที่ “ และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบนาฬิกาคอมพิวเตอร์ (SmartWatch)หรือที่เรียกว่า “นาฬิกาอัจฉริยะ”
สิ่งนี้สามารถตอบโจทย์คนยุคใหม่ได้อย่างแท้จริง เพื่อใช้สำหรับในการทำงาน การบอกเวลา หรือใช้เป็นนาฬิกาปลุกได้ ฯลฯ และที่สำคัญยังสามารถเชื่อมต่อ การใช้งานบางฟังก์ชั่นในมือถือได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องหยิบมือถือขึ้นมากด นับเป็นนวัตกรรมการผลิตนาฬิกาข้อมือที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมากมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งนาฬิกาแบบ Smart Watch นี้ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้สองระบบคือ android (แอนดรอย) และ IOS (ไอโอเอส) สามารถตอบโจทย์คนยุคใหม่อย่างคุณได้อย่างง่ายดาย
จนกระทั่งในปัจจุบันนี้นาฬิกาข้อมือได้ถูกผลิตออกมาในหลากหลายดีไซน์ที่มากขึ้น
มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม วิวัฒนาการของนาฬิกาข้อมือ และเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมทั้งในเรื่องของโอกาสการใช้งานต่าง ๆ ตามความชอบและความเหมาะสมของ กลุ่มคนในหลาย ๆ กลุ่มได้อย่างง่ายดาย
สรุป
สำหรับใครที่กำลังสนใจและกำลังมองหาเครื่องประดับอย่างนาฬิกาข้อมืออยู๋นั้น
คุณสามารถหาซื้อเป็นของขวัญให้กับตัวเองหรือคนที่คุณรักได้ที่ NGG Timepieces ทางเรามีสินค้าให้คุณเลือกซ์้อได้อย่างมากมายและพร้อมให้บริการให้ข้อมูลคำปรึกษาให้กับคุณลูกค้าที่น่ารักของเราทุกท่านได้เป็นอย่างดี